วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

หน้าที่และอำนาจ

หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า กศจ.

  1. กําหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในจังหวัด
  2. พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัด
  3. พิจารณาและให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดําเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัด
  4. เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อใช้อํานาจ
  5. กํากับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด
  6. วางแผนการจัดการศึกษาในจังหวัดและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
  7. เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทํางานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ. ได้ตามความจําเป็น
  8. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมอบหมาย
    ให้มีคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อกศจ. เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศจ. ประกอบด้วย
  9. บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. เป็นประธานอนุกรรมการ
  10. บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. จํานวนสองคน เป็นอนุกรรมการ
  11. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อํานวยการสถานศึกษา ซึ่ง กศจ. แต่งตั้ง
  12. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่ง กศจ. แต่งตั้ง จํานวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ
  13. ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT 2023 – 3